กิจกรรมおりがみ

๑. กิจกรรม おりがみ

สถานที่ : โดม40ปี

๒. วิทยากรแกนนำ

    ๑. นางสาวธัญวรัตม์  กล่อมจิต
๓. วัตถุประสงค์ของ กิจกรรมเรียนรู้

๑.เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

๒.เพื่อฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างถูกต้อง

๓.เพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหาและการมีไหวพริบในการทำกิจกรรม

๔. กิจกรรม

๑.เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของการพับกระดาษของประเทศญี่ปุ่น 

๒.ฝึกอ่าน ฝึกพูด คำศัพท์ต่างๆในการพับกระดาษ

๓.เรียนรู้วิธีการพับกระดาษต่างๆ

๕. สื่อ อุปกรณ์การเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

๑.ใบความรู้เกี่ยวกับศิลปะการพับกระดาษ

๒.บัตรคำศัพท์

๓.วิธีการพับกระดาษ

๔.Youtube 

๖. ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้ 

ศาสตร์พระราชา

– ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ

– ภูมิสังคม

– การส่วนร่วม

– ความเพียร

– รู้-รัก-สามัคคี

ศาสตร์ท้องถิ่น

– วัฒนธรรมของต่างประเทศ

ศาสตร์สากล 

การทำงานร่วมกัน  ทำงานอย่างเป็นระบบ  การเสาะแสวงหาความรู้ การสืบค้น  วิเคราะห์  สังเคราะห์  ทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาต่างประเทศและวัฒนธรรมต่างประเทศ

 

ศิลปะการพับกระดาษของญี่ปุ่น (Origami)

โอริกามิ คำว่า “โอริ” แปลว่า พับ ส่วนคำว่า “กามิ” แปลว่า กระดาษ เมื่อนำสองคำมารวมกัน โอริกามิ จึงแปลได้ว่าพับกระดาษนั่นเอง   โอริกามิ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเมื่อราวศตวรรษที่ ๑๒ ในประเทศญี่ปุ่น พวกเขาจะพับกระดาษในรูปแบบที่หลากหลายไม่ว่าจะห่อเป็นของขวัญ เป็นกระดาษสำหรับห่อของเก็บที่บ้าน หรือแม้กระทั่งพับเป็นของที่ระลึกผูกติดไปกับของขวัญ

วิธีการพับกระดาษของญี่ปุ่นได้รับการพัฒนาไปหลากหลายรูปแบบ กระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่2 มันถูกนำไปเผยแพร่ยังประเทศซีกโลกตะวันตก มีการตั้งศูนย์พับกระดาษแบบญี่ปุ่นในนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา และต่อมายังขยายความนิยมไปถึงประเทศอังกฤษมีการก่อตั้ง British origami society ที่นั่นในปี ๑๙๖๙ อีกด้วย  กล่าวกันว่ารูปแบบการพับกระดาษของญี่ปุ่นในช่วงปี ๑๖๐๓ – ๑๘๖๗ นั้นมี ๒ รูปแบบที่ได้รับความนิยม นั่นก็คือ รูปกบและนก ผู้นำในการพับกระดาษแบบ โอริกามิของญี่ปุ่นได้กล่าวไว้ว่า การพับกระดาษแบบโอริกามินั้น เป็นการพับกระดาษที่สวยงาม มีสีสันที่หลากหลาย ยิ่งโดดเด่น จะยิ่งสวยงาม  ในเวลาต่อมา โอริกามิถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาสมองเด็ก ช่วยเพิ่มทักษะการใช้นิ้วและมือ รวมทั้งการบริหารสมองทั้งสองข้างให้พัฒนาเรื่องการควบคุมการเคลื่อนไหวและรับรู้ภาพ ในต่างประเทศมีการนำศิลปะการพับกระดาษเช่นนี้ไปบำบัดผู้ป่วยโรคความจำสั้น แน่นอนส่วนใหญ่คือผู้สูงอายุ เรียกกันว่า โอริกามิบำบัด เพราะมันจะกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการบำบัดมีความคิดที่เป็นระบบและช่วยฝึกความจำอีกถ่ายหนึ่งด้วย

ย้อนกลับไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่๒ เรื่องของเด็กหญิงคนหนึ่งที่มีความหวังว่าตัวเองจะมีชีวิตรอดจากโรคร้าย ด้วยการพับกระดาษเป็นรูปนกกระเรียน ทำให้กลายเป็นตำนานเล่าขานกันมากระทั่งปัจจุบัน ซาดาโกะ ซาซากิ  เธอเกิดและอาศัยอยู่ใกล้ๆ กับสะพานมิซาสะในเมืองฮิโรชิมา ในวันที่ ๖ สิงหาคม ๑๙๔๕ ครั้งที่ระเบิดปรมาณูถล่มฮิโรชิมา เธอมีอายุเพียงสองขวบ แน่นอนซาดาโกะเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิต แต่…ไม่อาจรอดพ้นจากพิษร้ายของนิวเคลียร์ที่เข้าไปทำลายระบบการทำงานของร่างกาย  ซาดาโกะเติบโตขึ้น คล้ายจะเป็นคนแข็งแรง เธอเป็นนักวิ่งของโรงเรียน แต่แล้ววันหนึ่ง… ขณะที่ซ้อมวิ่ง เธอก็ล้มลงและเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลและพบว่า เธอเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาวซึ่งมันคือผลสืบเนื่องจากปรมาณูลูกนั้นนั่นเอง

เธอยังมีความหวังค่ะ…หวังว่าเธอจะหายจากมะเร็งและกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ เช่นเด็กสาวทั่วไป เธอเริ่มต้นความหวังของตัวเองด้วยการพับนกกระเรียนตามความเชื่อว่า หากเธอพับได้ถึง หนึ่งพันตัว คำอธิษฐานของเธอก็จะสัมฤทธิ์ผล แต่เธอก็ทำมันไม่สำเร็จ เธอพับมันได้เพียง ๖๔๔ ตัว ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ปี ๑๙๕๓ เธอสิ้มลมหายใจ ด้วยอายุเพียง ๑๒ ปี   ๑๔ เดือนที่เธออยู่กับความหวังและแรงอธิษฐาน …ขอให้ฉันหายป่วย…แต่มันก็ไม่อาจเป็นจริง  หลังการจากไปของซาดาโกะ เพื่อนๆร่วมชั้นเรียนของเธอ ต่างช่วยกันพับนกกระเรียนกระดาษให้ครบ หนึ่งพันตัวและนำไปฝังพร้อมกับร่างของซาดาโกะ…เรื่องของเด็กหญิงนกกระเรียนผู้นึ้จึงกลายเป็นตำนานไปทั่วโลก

ในปี ๑๙๕๔ อนุสาวรีย์ซาดาโกะก็สร้างสำเร็จและถูกนำไปตั้งไว้เป็นสัญลักษณ์ที่สวนสันติภาพฮิโรชิมา ด้วยท่วงท่าเหยียดชูนกกระเรียนขึ้นท้องฟ้า คล้ายเป็นเครื่องเตือนใจต่อผู้คนทั้งโลกให้ตระหนักถึงพิษภัยของสงคราม ที่มันไม่ได้อยู่เพียงชั่วขณะ แต่มันเหมือนแผลร้ายที่กัดกินใจผู้คนที่ยังอยู่และอาศัยร่วมกันในสังคมมาอีกเนิ่นนาน…สงครามไม่มีวันสิ้นสุด …ตราบใดที่มนุษย์ยังเห็นแก่ตัว

ทุกปีในเดือนสิงหาคม ผู้คนจากทุกสารทิศต่างพากันเดินทางมาที่อนุสาวรีย์ของซาดาโกะและนำนกกระเรียนกระดาษมาวางไว้ที่หน้ารูปปั้นของเธอ เพื่อเป็นการระลึกถึงและต่างก็ภาวนาให้โลกนี้มีสันติภาพ…แม้ถ้อยคำที่จารึกไว้ที่อนุสาวรีย์ของเธอจะก่อความสะเทือนใจให้แก่ผู้คนที่ได้อ่าน แต่ก็นั่น…มันไม่อาจสะเทือนไปถึงใครบางคน ที่มีใจอำมหิตไปได้….

“…นี่คือ คำร้องขอของเรา นี่คือ คำภาวนาของเรา สันติภาพจนบังเกิดขึ้นบนโลก…”

 

คำศัพท์ต่างๆ

ผักคะน้า「ちんげんさい」จิงเงนไซ

ผักโขม「ほうれんそう」 โฮเรนโซ

กะหล่ำปลี「キャベツ」 แคเบ็ตจึ

หน่อไม้ฝรั่ง「アスパラガス」อะสึปารากะสึ

คึ่นฉ่ายฝรั่ง「セロリ」เซโรริ

แครอต「にんじん」นิงจิน

หัวไชเท้า「だいこん 」ไดคอง

บล็อกโครี่「ブロッコリー 」บุโรคโครี่

ผักกาดเขียว「レタス 」เรตะสึ

ดอกกะหล่ำ「カリフラワー」คาริฟุระว่า

ข้าวโพด「とうもろこしโทโมโรโคชิ

แตงกวา「きゅうりคิวริ

มะเขือเทศ「トマト」โทมะโตะ

มะเขือม่วง「なすび」นะสึบิ

ฟักทอง「かぼちゃ」คะโบ้ตจะ

ถั่วฝักยาว「ささげ」ซาซาเงะ

ถั่วลันเตา「えんどう」เอ็นโด

พริกหยวก「ピーマン」พีมัง

พริก 「とうからし」โทคาราชิ

เห็ดหอม「しいたけ」ชี่ตาเคะ

เห็ดฟาง「マッシュルーム」มัชชุรุมุ

 

คำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์

動物園 dōbutsuen zoo สวนสัตว์

zō elephant ช้าง

キリン kirin giraffe ยีราฟ

サル saru monkey ลิง

ペンギン pengin penguin เพนกวิน

カバ kaba hippo ฮิปโป

シマウマ shimauma zebra ม้าลาย

ライオン raion lion สิงโต

とら tora tiger เสือ

しろくま shirokuma white bear หมีขาว หรือ หมีขั้วโลก

さい sai rhino แรด

ゴリラ gorira gorilla กอริลลา

チンパンジー chinpanjī chimpanzee ชิมแปนซี

カンガルー kangarū kangaroo จิงโจ้

パンダ panda panda แพนด้า

๗. ความสอดคล้องกับหลักการทรงงาน

รู้-รัก-สามัคคี ทำตามลำดับขั้นตอน

รู้        – การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา

รัก – เมื่อเรารู้ครบด้วยประบวนการแล้ว จะต้องเห็นคุณค่า เกิดศรัทธา เกิดความรักที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ปัญหานั้น

สามัคคี – เมื่อถึงขั้นลงมือปฏิบัติต้องคำนึงเสมอว่าเราทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจ สามัคคีกันเป็นหมู่คณะ จึงจะเกิดพลังในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงด้วย

  ทำตามลำดับขั้น  – เริ่มทำจากความจำเป็นก่อน สิ่งที่ขาดคือสิ่งที่จำเป็น

คู่มือกิจกรรมภาษาญี่ปุ่น

You may also like...

Your email will not be published. Name and Email fields are required