กิจกรรม YC เพื่อนที่ปรึกษา ( Youth Counselor: YC )

๑. กิจกรรม YC เพื่อนที่ปรึกษา ( Youth Counselor: YC )
๒. สถานที่ : ห้องแนะแนว
๒. ผู้รับผิดชอบ : กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แนะแนว
๓. วิทยากรแกนนํา : นางสาวศินัดดา ศิลาลาย
๔. วัตถุประสงค์ของแหล่ง / ฐานเรียนรู้
๑. เพื่อสร้าง“นักเรียน : เพื่อนที่ปรึกษา” เป็นเยาวชนที่มีความพร้อมทั้งในด้านความรู้ (Knowlidge)
ทัศนคติ (Attitude) และความสามารถ (Ability) ในการให้คําปรึกษา และแนะแนวแก่ผู้อื่นอย่างถูกต้อง เหมาะสม
๒. เพื่อให้ “นักเรียน : เพื่อนที่ปรึกษา” มีบทบาทในการแก้ปัญหาของสังคม ทั้งในโรงเรียน และชุมชน
๓. เพื่อผลักดันให้เกิดเครือข่ายของ “นักเรียน : เพื่อนที่ปรึกษา” ที่ยั่งยืน (Youth Counselor) ใน
โรงเรียน
๔. เพื่อผลิตสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหา โดยการแนะแนวไปยังเยาวชน ครู-อาจารย์ พ่อแม่
ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปอันจะสร้างความเข้าใจในการแนะแนวที่ถูกต้องและทําให้เกิดการใช้ กระบวนการ
แนะแนว เพื่อแก้ปัญหาวัยรุ่นอย่างกว้างขวาง ขอบเขตการทํางานรวบรวมสมาชิกให้ได้มาก
เพื่อนํามาอบรมการให้คําปรึกษา เพื่อนําไปใช้ในการให้คําปรึกษาแก่บุคคล ที่ต้องการคําปรึกษา
๕. กิจกรรม
๑. จัดทําโครงการ กิจกรรมนักเรียน เพื่อนที่ปรึกษา ( YC : Youth Counselor)
๒. ขั้นการวางแผน
ประชุมคณะครู เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงาน และครูที่ปรึกษา พร้อมอธิบายขอบเขตของ
งานเพื่อนที่ปรึกษา กระบวนการ/ขั้นตอนดําเนินงาน บทบาทของครูที่ปรึกษาและนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา
๓.รับสมัครนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา พร้อมคัดเลือกคณะกรรมการดําเนินงานนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา
๓.๑.การสร้างนักเรียน YC มี๒ ประเภท ได้แก่
๑. นักเรียน YC แกนนํา ได้มาจากการประชาสัมพันธ์รับสมัครนักเรียนที่มีคุณสมบัติเป็นผู้นํา มี
จิตอาสา มีบุคลิกภาพที่ดี อยากที่จะช่วยเหลือเพื่อน ประมาณ ๖0 คน

๒. นักเรียน YC ประจําห้องเรียนห้องละ ๒-๕ คน ได้มาจากการคัดเลือกนักเรียนที่มีคุณสมบัติ

เหมาะสมตามเกณฑ์ที่งานแนะแนวกําหนด โดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้คัดเลือกตามแบบฟอร์มที่กําหนดให้
๓. การจัดอบรมให้ความรู้ “หลักสูตรการให้คําปรึกษาเบื้องต้น” โดยให้นักเรียน YC แกนนํา
และนักเรียน YC ประจําห้องเรียนเข้ารับการอบรมตามโปรแกรมการอบรม หลังการอบรมนักเรียนได้รับมอบ
เกียรติบัตร
๔. การทําหน้าที่ของ YC ประจําห้องเรียน และ YC แกนนํา

๕. หน้าที่ของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา
การทําหน้าที่ของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษานั้นแยกออกเป็น ๒ ส่วน สําคัญคือ ส่วนนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา
แกนนําและส่วนนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาประจําห้องเรียน
๖. YC ประจําห้องเรียน
– ทําหน้าที่ดูแลและให้การช่วยเหลือเพื่อนนักเรียนในห้องของตนเอง
– ช่วยครูที่ปรึกษาติดตามรายงานพฤติกรรมของเพื่อนภายในห้อง
– ประสานงานกับนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาแกนนํา
๗. YC นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาแกนนํา
– ทําหน้าที่ให้คําปรึกษากับนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาประจําห้องเรียนที่มาขอรับแนวทางการ
ให้คําปรึกษา
– สรุปปัญหานักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาเพื่อรายงานให้กับครูที่ปรึกษากิจกรรมนักเรียนเพื่อน
ที่ปรึกษารายงานส่งต่อไปยัง ครูที่ปรึกษา
๘. YC แกนนํา
– ทําหน้าที่ให้คําปรึกษาเพื่อนในโรงเรียน ในปัญหาต่างๆ โดยจัดให้คําปรึกษาหลาย
ช่องทาง ได้แก่
– การให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคลที่ห้องให้คําปรึกษา – ทาง Email
– การให้คําปรึกษาผ่าน Facebook – ทางโทรศัพท์
– ช่องทางอื่นๆ

9. YC แกนนํา นิเทศและติดตามการทําหน้าที่ของ YC ประจําห้องเรียน โดยนัดหมายประชุม
ประจําเดือน เดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อช่วยเหลือ YC ประจําห้องเรียน ให้สามารถทําหน้าที่ได้มี
ประสิทธิภาพ
10.YC แกนนําจะจัดรายการให้ความรู้หน้าเสาธงทุกวันพุธ ในเรื่องที่วัยรุ่นสนใจและข่าวสาร
ที่น่าสนใจได้แก่ เรื่อง การคบเพื่อนต่างเพศ ความรัก การเรียน สุขภาพ ฯลฯ
11.YC แกนนําช่วยครูแนะแนวในการจัดอบรมนักเรียน YC ในหลักสูตรทักษะการให้
คําปรึกษาเบื้องต้น
12.YC แกนนําช่วยครูแนะแนวสรุปข้อมูลผลการให้คําปรึกษาเพื่อนในห้องเรียนของ YC ประจํา
ห้องเรียน เพื่อนําข้อมูลที่ได้รายงานต่อผู้บริหารและส่งต่องานปกครองของโรงเรียนเพื่อนําไป
พัฒนานักเรียนต่อไป

๔. การประสานงานเครือข่ายความร่วมมือในการดําเนินงาน มีการดําเนินงานดังนี้
4.1การส่งต่อภายในโรงเรียน
– นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา(YC)ประจําห้อง (YC) แกนนําทําหน้าที่ช่วยเหลือเพื่อนๆที่มีปัญหาหาก

เป็นปัญหาที่มีความยุ่งยาก จะส่งต่อให้ครูที่ปรึกษาดําเนินการ
– หากครูที่ปรึกษาไม่สามารถช่วยเหลือดูแลได้ จะส่งต่อให้ครูแนะแนวของโรงเรียนโดยมีแบบฟอร์ม
– การส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหา เช่น ปัญหาด้านพฤติกรรมครูที่ปรึกษาส่งต่อหัวหน้าระดับชั้น
๔.๒. การส่งต่อภายนอกโรงเรียน
– โดยครูแนะแนวจะส่ง Case ที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ให้กันนักจิตวิทยาของโรงพยาบาลช่วยดูแล
แก้ไข ร่วมกับผู้ปกครองของนักเรียน ครูที่ปรึกษาและครูแนะแนวของโรงเรียนหรือส่งต่อไปยังสถาบัน สุขภาพจิต
เด็กและวัยรุ่นต่อไป
๕. การเชื่อมโยงโครงการนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา YC : Youth Counselor) กับระบบความช่วยเหลือ
นักเรียน ของโรงเรียน โดยสร้างนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (YC) ช่วยครูที่ปรึกษาแบ่งเบางานดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โดยกิจกรรมYCได้ดําเนินการร่วมกับงานระบบช่วยเหลือดูแล
๖. ประโยชน์YC โรงเรียนสวายวิทยาคาร
๖.๑. อบรมนักเรียนเพื่อให้มีทักษะการให้คําปรึกษา
๖.๒. ช่วยเหลือเพื่อนภายในห้องของตนเอง
๖.๓. ส่งเสริมลักษณะการเป็นผู้นําให้กับนักเรียน
๖.๔. ส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตอาสาช่วยเหลืองานสังคม
๗. กระบวนการผลิตผลงาน หรือ ขั้นตอนการดําเนินงาน
๗.๑. กิจกรรมการให้คําปรึกษา โดยนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาที่ได้ผ่านการอบรมและสมาชิกแกนนํา
ครูทีปรึกษา และผู้บริหาร ได้รับการอบรมจากนักจิตวิทยา
๗.๒. การจัดกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ได้จัดขึ้นเพื่อช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นและสอดคล้องในการ
จัดกิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา ได้แก่ กิจกรรมอนามัยวัยเจริญพันธ์ , ลดละเลิกนักสูบหน้าใหม่ ,รณรงค์และป้องกัน
การเล่นการพนัน สานสัมพันธ์พี่น้อง, อบรมวินัยจลาจล กิจกรรมครูที่ปรึกษา เพื่อลูกรัก , , กิจกรรมวันรักวันลา,
กิจกรรมเช้าสวดมนต์เช้า กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ, กิจกรรมขับขี่ปลอดภัย , กิจกรรมเพศปลอกภัยทําได้แค่ร่วมมือ
กิจกรรมTo Be Number One กิจกรรม Big cleanning กิจกรรมกีฬาสี กิจกรรมแนะแนวศึกษาต่อ กิจกรรม
ขยะลดโลกร้อน เป็นต้น
YC, กิจกรรมประชาสัมพันธ์หน้าเสาธง กิจกรรมกล่องสร้างสุขและกิจกรรมดาวและเดือน
๘. ขั้นกํากับ ติดตาม ประเมินและรายงาน
๘.๑. การ Coaching ระหว่างนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา และนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษากับครูที่ปรึกษา
๘.๒. การประชุมนิเทศ ติดตามผลการดําเนินงานกิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา โดยผู้บริหารและครูที่ปรึกษา
๘.๓. กิจกรรมนิเทศ ประเมินและรายงานผลนิเทศ
๘.๔. สรุปและรายงานผลการดําเนินงานกิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา
๙. ขั้นการตรวจสอบประเมิน
๙.๑. ปรับปรุงแก้ไขผิดพลาด ในการนําข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาในการทํากิจกรรมในครั้งต่อไป
๙.๒. พัฒนาระบบและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง
10. สื่อ อุปกรณ์การเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
สื่อคลิปวีดีทัศน์เกี่ยวกับการเทคนิคให้คําปรึกษา
บทบาทสมมุติการให้คําปรึกษา
11. ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้
ศาสตร์พระราชา
– ความหมายและความสําคัญโครงการ YC
– วัยรุ่นกับเพื่อน
– ทักษะชีวิต
– การให้คําปรึกษา
– สัญญาใจ YC
– การประสานงานเครือข่าย
ศาสตร์ท้องถิ่น
– มีจิตอาสาช่วยเหลือเพื่อนและคนในสังคม
– สามารถให้คําปรึกษาและแนะแนวแก่ตนเองและผู้อื่น อย่างเหมาะสม
-. สามารถหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้อื่นในขั้นต้น
-. มีทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
-. บันทึกรายงานผลการทํางาน
-. การประเมินผลของการทํางานสําหรับ YC
ศาสตร์สากล
– พัฒนาเยาวชนในโรงเรียนให้ช่วยเหลือเพื่อนด้วย กระบวนการแนะแนวและให้คําปรึกษา
– ให้เป็นภาคีภาคนักเรียนในการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
12. ความสอดคล้องกับหลักการทรงงาน
– เคารพในศักดิ์ศรีและส่งเสริม สนับสนุนสวัสดิภาพของเพื่อนผู้มารับคําปรึกษา และต้องระวังไม่ให้
ผู้รับคําปรึกษาได้รับการกระทบกระทั่งทางจิตใจ
– สัมพันธภาพในการให้คําปรึกษา ซึ่งข้อมูลที่ได้นั้น จะต้องเก็บรักษาไว้เป็นความลับ
– บันทึกต่าง ๆ ในการให้คําปรึกษา รวมทั้งบันทึกจากการสัมภาษณ์ ข้อมูลจากแบบทดสอบ เครื่อง
บันทึกเสียง และเอกสารอื่น ๆ ถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่จะนําไปใช้จะต้องปกปิดเอกลักษณ์ของเพื่อนผู้รับ
คําปรึกษา และระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ให้เกิดผลเสียหายแก่เพื่อนผู้รับคําปรึกษาทราบ
– ควรชี้แจงเงื่อนไขต่างๆของการให้คําปรึกษาให้เพื่อนผู้รับคําปรึกษาทราบ
– ในการให้คําปรึกษา YC ต้องหลีกเลี่ยงสภาพที่จะทําให้เพื่อนผู้รับคําปรึกษาอยู่ในภาวะขัดแย้งในใจ
– ยุติคําปรึกษาเมื่อ YC ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือผู้รับคําปรึกษาได้อีกต่อไป และให้ส่งต่อไปพบ
ผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสมต่อไป
– หากได้รับข้อมูลที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น YC ต้องรายงานให้แก่ผู้มีอํานาจที่เกี่ยวข้อง ในแนวทางที่ไม่
เปิดเผยว่า ได้รับข้อมูลจากเพื่อนผู้รับคําปรึกษาคนใด
13. ถอดบทเรียนการนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดทํากิจกรรมการเรียนรู้

คู่มือกิจกรรมYC เพื่อนที่ปรึกษา ฉบับเต็ม

 

You may also like...

Your email will not be published. Name and Email fields are required