กิจกรรมเรื่องผู้ย่อยสลาย

  1. กิจกรรมเรื่อง  ผู้ย่อยสลาย

   สถานที่ : ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

 

  1. วิทยากรแกนนำ

      นางนฤมล หวังมั่น

 

  1. วัตถุประสงค์ของแหล่ง / ฐานเรียนรู้
  2.   มีความรู้เรื่องบทบาทของผู้ย่อยสลาย
           2. ศึกษาวิธีการหมักใบไม้      
  3. เพื่อบ่มเพาะนิสัยความพอเพียง

 

  1. กิจกรรม
  2.     ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของผู้ย่อยสลาย
           2. ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการหมักใบไม้      

 

  1. สื่อ อุปกรณ์การเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

ใบความรู้ เรื่อง บทบาทของผู้ย่อยสลาย

– ใบกิจกรรม เรื่อง วิธีการหมักใบไม้      

  1. ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้ 

ศาสตร์พระราชา

– ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ

– แก้ปัญหาจากจุดเล็ก

– ภูมิสังคม

– การส่วนร่วม

– ความเพียร

– รู้-รัก-สามัคคี

ศาสตร์ท้องถิ่น

– ภูมิปัญญาการนำจากวัสดุจากธรรมชาติที่มีมาใช้

ศาสตร์สากล

-ความรู้เรื่องการย่อยสลายใบไม้

 

สิ่งมีชีวิตในดิน

สิ่งมีชีวิตในดินประกอบด้วย พืช และสัตว์ มีทั้งที่มองเห็นด้วยตาเปล่า และต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ บางชนิดมีประโยชน์ในการช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ หรือช่วยในการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และมีบางพวกที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ บางชนิดอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และพืชได้ 

ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ในดินจำเป็นต้องได้รับการศึกษา เพราะสัตว์ในดินมีความสำคัญต่อระบบนิเวศเนื่องจากเป็นผู้ย่อยสลาย และเพื่อเป็นการสงวนรักษาพันธุ์พืชและสัตว์ สัตว์ในดินที่มีปริมาณและความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สดคือ สัตว์ที่มีข้อปล้อง เช่น ด้วง

ปัจจุบัน การวิจัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในดินมีน้อยกว่างานวิจัยอื่น ๆ เนื่องจากเป็นงานที่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งมีชีวิตในดินที่ได้รับการศึกษามากที่สุดในขณะนี้คือ ปลวก มด และไมโครไรซ่า ซึ่งเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และจุลินทรีย์ในดินที่สำคัญ ประเทศไทยสัตว์ในดินที่ได้รับการศึกษามากที่สุด คือ มด ในขณะที่สิ่งมีชีวิตในดินกลุ่มอื่น ๆ เช่น ด้วง ไส้เดือนฝอย ไร หรือ ราในดิน ได้รับการศึกษาน้อย ทั้งที่น่าจะได้รับการศึกษามากที่สุด เนื่องจากมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมาก ในการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในดิน จำเป็นต้องมีความเข้าใจลักษณะทางกายภาพและลักษณะทางนิเวศวิทยาของดิน

บทบาทของสัตว์ในดินที่มีต่อดิน

  1. เป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์

ขบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์เกิดขึ้นจากแบคทีเรียและเชื้อรา แต่ขบวนการย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยสัตว์ในดินขนาดใหญ่กว่าจุลินทรีย์ เช่น ปลวก ไส้เดือน กิ้งกือ เห็บ หรือ ไร เป็นต้น เป็นตัวช่วยเร่งการแตกสลายตัวของวัตถุขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้จุลินทรีย์สามารถทำหน้าที่ย่อยสลายวัตถุที่มีขนาดเล็กต่อไป

  1. ช่วยในการหมุนเวียนแร่ธาตุ

ขบวนการหมุนเวียนแร่ธาตุในดินมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับขบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์วัตถุ ในขบวนการย่อยสลายการอินทรีย์วัตถุ จุลินทรีย์คือตัวการสำคัญที่สุดของกระบวนการย่อยสลาย แต่อัตราการย่อยสลายขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงขนาดวัตถุ โดยสัตว์ขนาดเล็กและขนาดกลางในดิน เช่น ปลวก โปรโตซัว และไส้เดือนฝอย สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเหล่านี้มีส่วนร่วมในขบวนการย่อยสลาย โดยการกินซากอินทรีย์วัตถุขนาดใหญ่และถ่ายออกมา จุลินทรีย์ในดินจะสามารถย่อยสลายมูลสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปล่อยลงสู่ดิน รากพืชจะสามารถดูดเอาแร่ธาตุในดินโดยผ่านสิ่งมีชีวิตในดินที่มีความสัมพันธ์ร่วมกันกับซากพืช และสามารถตรึงไนโตรเจนในดินมาใช้ประโยชน์ ซึ่งบทบาทในการช่วยหมุนเวียนแร่ธาตุธาตุอาหารในดินเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตในดิน รวมทั้งพืชและสัตว์ มีประโยชน์ต่อกิจกรรมทางเกษตรและป่าไม้อย่างมาก

  1. ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน

ปลวก ไส้เดือน มดหรือสัตว์ในดินขนาดเล็ก และเศษซากพืชขนาดเล็ก คือ ตัวช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของดิน เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายในดินทำให้ดินมีการปรับปรุงโครงสร้างในดิน เช่น มด ปลวกสร้างรังในดิน ทำให้สารอินทรีย์วัตถุจากดินชั้นบนเคลื่อนย้ายลงสู่ดินชั้นล่างได้ ทำให้เกิดช่องว่างให้สัตว์ขนาดเล้กและจุลินทรีย์สามารถเคลื่อนย้ายลงสู่ดินลึกได้ ทำให้เกิดช่องว่างในดิน เพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้ดินมีสภาพเหมาะสมต่อการดำรงอยู่ของสัตว์ในดินที่มากยิ่งขึ้น

  1. ช่วยควบคุมแมลงศัตรูและเชื้อโรคในดิน

ในสภาพธรรมชาติ การระบาดของแมลงศัตรูพืชและเชื้อโรคในดินเป็นไปได้ยาก ในขณะที่แปลงเกษตรกรรมจะพบการระบาดของศัตรูพืชได้อยู่เสมอ พื้นที่ที่มีความหลากหลายต่ำ เช่น แปลงปลูกพืชหรือพื้นที่วนเกษตร มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ในดิน เนื่องจากการกระทำของเกษตรกรมีผลต่อการลดลงของสิ่งมีชีวิต เช่น การใช้สารปราบศัตรูพืช การเผาหญ้าและตอซังข้าว เพราะสัตว์ในดินส่วนมากจะเป็นตัวย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ จะช่วยทำให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ หากการกระทำที่ทำให้สัตว์ในดินชนิดใดชนิดหนึ่งลดจำนวนลง อาจมีผลทำให้เกิดการระบาดของสัตว์หรือโรคที่เป็นศัตรูพืชชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นมาได้ การใช้สารเคมีและการปล่อยให้มีซากพืชปกคลุมอย่างเหมาะสมจะเป็นการช่วยให้สัตว์ในดินคงอยู่และก่อให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศ

ข้อมูลจาก http://chm-thai.onep.go.th/…/agricl…/Status/arthopd.html

 

  1. ความสอดคล้องกับหลักการทรงงาน

รู้-รัก-สามัคคี

รู้ – การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา

รัก – เมื่อเรารู้ครบด้วยประบวนการแล้ว จะต้องเห็นคุณค่า เกิดศรัทธา เกิดความรักที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ปัญหานั้น

สามัคคี – เมื่อถึงขั้นลงมือปฏิบัติต้องคำนึงเสมอว่าเราทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจ สามัคคีกันเป็นหมู่คณะ จึงจะเกิดพลังในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงด้วย

คู่มือฐานกิจกรรม ผู้ย่อยสลาย ฉบับเต็ม

You may also like...

Your email will not be published. Name and Email fields are required