กิจกรรมการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมบนเศษวัสดุ

ชื่อฐานการเรียนรู้  การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมบนเศษวัสดุ

สถานที่ : ห้องปฎิบัติการทัศนศิลป์

  • ชื่อผู้รับผิดชอบ  นายศึกษา  จุนเสริม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • วิทยากรแกนนำ นายศึกษา  จุนเสริม  
  • วัตถุประสงค์
  1. นักเรียนมีทักษะในการใช้วัสดุ  อุปกรณ์ และรู้เทคนิคในการสร้างงานทัศนศิลป์
  2. นักเรียนสามารถสร้างสรรค์งานจิตรกรรมบนเศษวัสดุ  โดยใชวัสดุ  อุปกรณ เทคนิค  และเนื้อหาในการสรางงานทัศนศิลป์ตามศิลปินหรือที่ตนชื่นชอบ
  1. การปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือใช้นำมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  2. ผู้เรียนมีจินตนาการทางศิลปะ  ชื่นชมความงาม  มีสุนทรียภาพ อนุรักษ์สืบสานศิลปะวัฒนธรรม  และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • กิจกรรมการเรียนรู้
      1. ประชุมคณะครูประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
      2.  วางแผนสำรวจหลักสูตรมาตรฐานตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้ศิลปะ
      3. กำหนดมาตรฐานตัวชี้วัดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖
      4. นักเรียนเรียนรู้การใช้วัสดุ  อุปกรณ์ และรู้เทคนิคในการสร้างงานทัศนศิลป์
      5. นักเรียนลงมือสร้างสรรค์ผลงานลงบนเศษวัสดุต่างๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น ตามแรงบัลดาลใจหรือศิลปินที่ตนชื่นชอบ
  • สื่ออุปกรณ์การเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
  • สื่อการสอนโซเชียลมีเดีย
  • ตัวอย่างผลงานจริงที่สร้างสรรค์ลงบนเศษวัสดุที่ต่างกัน
  • ห้องปฏิบัติการกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้

ศาสตร์พระราชา 

– ประหยัดเรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด

ศาสตร์ท้องถิ่น

การเขียนภาพแบบโบราณ

ศาสตร์สากล

– การศึกษาขั้นตอนทำงานอย่างเป็นระบบ

– การเขียนภาพแบบสมัยใหม่

การสร้างสรรค์ทางศิลปะ

         หมายถึง การนำเสนอสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ในทางศิลปะสามารถกระทำโดยการนำวิธีจัดรูปแบบองค์ประกอบศิลปะโดยใช้ทัศนะธาตุ เช่น เส้น สี น้ำหนัก พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง เป็นสื่อในการถ่ายทอด และผ่านเทคนิคต่าง ๆ ในทางจิตรกรรมอาจใช้ ดินสอสี สีน้ำมัน สีน้ำ สีอะครายลิค สีฝุ่น หรือเทคนิคผสม เป็นต้น

 

กระบวนการสร้างสรรค์ สามารถแสดงออกได้หลายวิธีการดังนี้

  1. การสร้างสรรค์แบบรูปธรรม (Realistic)
  2. การสร้างสรรค์กึ่งนามธรรม (Semi Abstract)
  3. การสร้างสรรค์นามธรรม (Abstract)

เช่นในงานศิลปะในแนวImpressionism, Neo-Impressionism,และ Abstract เป็นต้น

 

จิตรกรรมสร้างสรรค์

จิตรกรรม เป็นผลงานทัศน์ศิลป์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการวาดเขียนและระบายสี มีลักษณะทั่วไปเป็นผลงานบนแผ่นพื้น 2 มิติ แต่ใช้กระบวนการเพื่อสร้างภาพลวงตาให้เกิดเป็น 3 มิติโดยใช้สีต่าง ๆ เช่น สีน้ำมัน สีน้ำมัน สีฝุ่น ฯลฯ เป็นสื่อกลางในการแสดงออกถึงเจตนาการการสร้างสรรค์

เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ

องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ

  1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร
  2. วัสดุที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ
  3. สี เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน

งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียนว่า จิตรกร (Painter)

 เคล็ดลับการวาดภาพแบบง่ายๆ ไม่ต้องมีพื้นฐาน ก็วาดเป็น  

(เทคนิคง่ายๆที่จะทำให้ท่านวาดได้คล้ายมืออาชีพ)

หลายคนอยากวาดรูปแต่กลัวไม่เหมือน มีไม่น้อยที่กลัวไม่สวย อาย กลัวขายหน้า 

หรือว่าคิดว่าตัวเองไม่มีพื้นฐานไร้ประสบการณ์ ทำให้ไม่กล้าที่จะวาดให้เขาดูเพราะกลัวโดนล้อว่า

…ฝีมืออย่างนี้จะมาวาดเพื่อประจานตัวเองทำไม

ทั้งๆที่ใจเราอยากจะวาดใจจะขาด และเพราะความกลัวเหล่านี้ทำให้ดึงเราออกห่างจากการวาดมากขึ้นเรื่อยๆ

แต่ไม่ต้องตกใจ เราทุกคนเราเป็นมนุษย์ และมนุษย์ทุกคนมีความเป็นศิลปินในตัวเองอยู่แล้ว เราสามารถวาดเพื่อที่จะสื่อสารความรูสึกของเราออกไปได้ เพราะการสร้างงานศิลป์หรือการวาดภาพในงานศิลปะไม่จำเป็นต้องมองว่า ภาพนี้เหมือนภาพถ่ายเพียงอย่างเดียว หรือ จำเป็นที่จะต้องเหมือนภาพจริงจากต้นแบบ

ซึ่งการวาดภาพจัดว่าเป็นการสื่อสารแบบหนึ่งและการสื่อสารแบบนี้ก็ถือเป็นการสื่อสารอีกแบบหนึ่ง เพราะสำหรับงานศิลปะแล้ว…. 

แว๊บแรกที่เราเห็นผลงาน เรารู้สึกอย่างไรกับผลงานชิ้นนั้น 

บางภาพสีสันอาจทำให้เรารู้สึกร่าเริงแจ่มใส และบางภาพก็สามารถทำให้เรารู้สึกหดหู่ได้เหมือนกัน ทั้งๆที่ผู้วาดเองอาจไม่ได้รู้สึกเช่นนั้นในตอนวาด แต่สีสันและลายเส้นที่ใช้นั้นอาจบ่งบอกถึงจิตใจเบื้องลึกของเขาทำให้เขากำหนดสีและเส้นเหล่านั้นออกมา ซึ่งนั่นทำให้เขาได้ปลดปล่อยปลดเปลื้องเอาสิ่งที่ค้างคาใจมาระบายออกทางภาพวาด

ทีนี้เราจะมาลองดู 3 ขั้นตอนวาดภาพตามสไตล์เรากันว่าจะเริ่มต้นอย่างไร?

  1. ปริ้นท์ภาพที่เราต้องการออกมาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็อปปี้ลายเส้นลงบนเฟรมหรือกระดาษที่เราต้องการวาด

ถ้าไม่มีกระดาษลอกลาย เราสามารถใช้ดินสออีอี(EE) ถูกระดาษด้านหลังภาพให้เข้ม แล้วจากนั้นเราก็ลอกลายเส้น และเราก็จะได้ภาพที่ไม่เพี้ยน เพื่อความแม่น 

ซึ่งจะช่วยทำให้เราเกิดความมั่นใจขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งการก็อปปี้จากต้นแบบนั้น ทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดเพราะ ถึงแม้ฝีมือจะดีขนาดไหน บางทีวาดครั้งที่สองก็อาจจะไม่เหมือนเดิม ซึ่งวิธีนี้เราจะเห็นการลอกลายแบบลายไทยคือทำต้นแบบมาแผ่นเดียวและหลังจากนั้นกลอกแบบลายเดิมไปเรื่อยๆจนเต็มพื้นที่

  1. ใช้จินตนาการ

พอเราได้โครงร่างแล้ว เราอยากได้ภาพนั้นเป็นลักษณะไหน จะเป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือ วาดตามโครงร่างนั้น จากนั้นก็จินตนาการการใช้สีให้เป็นสไตล์ของเราเอง มองเป็นสีพื้นๆให้เป็นสองมิติ สีง่ายๆ

  1. ลงสีหรือลงน้ำหนัก

หากเราอยากว่าเป็นภาพขาวดำ การน้ำหนักง่ายๆมีเพียง 3 น้ำหนัก คือ ขาว เทา และดำ จากนั้นก็ลองปะติดปะต่อกันสลับน้ำหนักไปเรื่อยๆจนเต็มภาพ หากเป็นภาพสีลองทดลองเป็นชุดผลงานไป อาจใช้สีทุกสีผสมขาว แล้วป้ายลงบนภาพ หรือ ทั้งภาพเต็มไปด้วยสีตรงข้าม เช่น แดงกับเขียว หรือ ส้มกับม่วง เป็นต้น

บางทีเราอาจไม่เคยคิดเลยว่า จะมีภาพที่สวยและประหลาดแบบนี้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ก็ได้

 

ซึ่งการร่างภาพแบบนี้ ไม่จำเป็นต้องฝึกพื้นฐานใดๆมาตั้งแต่แรกเริ่มเพียงแค่ลากเส้นเป็นก็ทำได้ เราสามารถฝึกจากการปริ้นท์ การดราฟท์ การก็อปปี้ ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นการขึ้นโครงร่างก่อนทำการวาด หรือเรียกง่ายๆว่าการทาบเหมือนที่เราเคยทำกันมาตั้งแต่ตอนสมัยเป็นเด็กๆ

ครั้งหนึ่งตอนผมวาดภาพใหม่ๆ ผมเองก็ยังแอบก็อปปี้ต้นฉบับ บางทีก็ถ่ายเอกสารมา พยายามที่จะลากเส้นตีสเกลบ้าง ทำหลายๆวิธีเพื่อให้ภาพที่เราวาดนั้นออกมาเหมือนต้นฉบับมากที่สุด

 

 

ผมเคยเห็นศิลปินหลายๆท่านเองก็ยังใช้ โปรเจกเตอร์ ฉายลงไปในเฟรมที่ใหญ่แล้วร่างภาพนั้นตามเส้นลงบนเฟรมซึ่งก่อนที่เขาจะมีภาพมาฉายลงเฟรมนั้นพวกต้องออกแบบและ วาดลงในกระดาษแผ่นเล็กเพื่อให้ได้สัดส่วนก่อน จึงจะฉายทาบภาพนั้นลงบนพื้นที่วาด ซึ่งจะทำให้ลักษณะ สักส่วนของภาพไม่ผิดเพี้ยนจากต้นแบบที่เขากำหนดไว้ตั้งแต่ต้น

แต่การใช้โปรเจกเตอร์วาดรูปนั้น เราก็ได้เพียงลายเส้นรอบนอก แต่ในเรื่องของแสงเงา น้ำหนัก ที่มีระดับต่างกันมากมาย ยังต้องอาศัยทักษะการเรียนรู้เข้าเพิ่ม 

เพราะหากจะลงมือสร้างสรรค์ผลงานสักชิ้น เราคงต้องเริ่มจากสิ่งที่เรารักก่อน แล้ววิธีต่างๆจะตามมา

ก็เหมือนกับวงกลมเราจะเริ่มจากตรงไหนก็ได้ สุดท้ายก็มาสิ้นสุดบรรจบที่กระบวนการเดียวกัน คือ เราเริ่มที่เราจะวาดจากการทาบก่อน แล้วก็มาลงสีตามแบบของเรา พอเราทาบบ่อยๆจนเกิดความมั่นใจแล้ว เราก็จะเกิดทักษะ และมีความอยากที่จะร่างภาพเองให้เหมือนต้นแบบ เราก็จะค่อยๆปรับการเรียนรู้เพิ่มเติม หาวิธีฝึกฝนมากขึ้น หรือบางคนอาจจะเริ่มจากการฝึกการวาดรูปพื้นฐาน โดยฝึกจากการวาดเส้น กำหนดน้ำหนักจนเข้าสู่กระบวนการวาดตามจินตนาการในตอนสุดท้าย

แต่ไม่ต้องกลัวครับ เริ่มจากตรงไหนก็ได้ หากเรารักจริงแล้วเราก็จะตามหาจนเจอ

บางท่านอาจจะคิดว่าไม่มีเวลามากพอที่จะมาทำงานศิลปะแบบนี้ ผมจะชี้ให้เห็นถึงสิ่งมหัศจรรย์ในทุกครั้งที่เราสร้างงานศิลป์ ที่มอบให้กับเรามาอย่างไม่รู้ตัว นั่นคือสิ่งที่ลึกล้ำของความสงบครับ

เราจะมีเวลาที่เราได้ใช้สมาธิ และโฟกัสจุดกับการวาดภาพ ซึ่งนั่นจะทำความคิดของเราเกิดความแน่วแน่ขึ้น เหมือนกับการฝึกพลังจิตให้ได้เพ่งเป้าหมายเฉพาะจุดที่แน่นอนไปในตัว เพราะการนำความรู้สึกภายในนั้นกลั่นลงสู่ผืนเฟรมผ้าใบ จะสามารถปลดปล่อยอารมณ์ของเราให้แยกออกจากจากสังคมที่ตึงเครียดหรือสารพัดสิ่งที่ทำให้ความคิดเราตีบตันได้ 

ว่ากันว่า… เมื่อเรากำลังกังวลกับเรื่องใด และวนเวียนหาทางออกไม่เจอ ให้ดึงจิตตัวเองให้ออกมาจากเรื่องนั้นก่อน หยุดคิดถึง ปล่อยวางให้ว่างเปล่า ด้วยการโฟกัสไปที่การสร้างงานศิลป์ แล้วหลังจากนั้นลองย้อนกลับไปมองที่ปัญหาเดิมอีกครั้ง บางทีเราอาจจะคิดค้นทางออกใหม่ที่คาดไม่ถึงก็เป็นได้

ขอให้สนุกกับการวาดภาพนะครับ ส่วนท่านใดที่ชื่นชอบบทความนี้ก็สามารถแชร์บอกต่อเพื่อนๆได้เลยครับ เผื่อวิธีการสร้างงานศิลป์ด้วยตัวเองแบบง่ายๆนี้จะเป็นอีกวิธีที่ช่วยปล่อยปล่อยความเครียด และส่งจิตของเราให้เป็นอิสระเพื่อพร้อมสู้กับทุกสถานการณ์ด้วยความสดใหม่ แถมยังได้ภาพวาดด้วยฝีมือของเราเองประดับบ้าน เผลอๆมีคนชอบก็อาจขายได้จนสามารถสร้างเป็นรายได้เสริมอีกทางก็ได้ครับ เพราะคำว่างานศิลปะไม่ได้จำกัดคุณค่าของศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานครับ

( ที่มาจากเว็ปไซค์: https://bit.ly/3nDKXy9 )

  1. ความสอดคล้องกับหลักการทรงงาน

– ประหยัดเรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด

            การพัฒนาและช่วยเหลือราษฎรนั้น  ทรงใช้หลักในการแก้ปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด  ราษฎรสามารถทำได้เองหาได้ในท้องถิ่น  และประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ  มาแก้ไขโดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากนัก

คู่มมือฐานการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมบนเศษวัสดุ ฉบับเต็ม

You may also like...

Your email will not be published. Name and Email fields are required