กิจกรรมต่อคำศัพท์ภาษาไทย คำคม (Kumkom)

คู่มือการศึกษากิจกรรม ต่อคำศัพท์ภาษาไทย คำคม (Kumkom)

๑. กิจกรรม “ต่อคำศัพท์ภาษาไทย คำคม (Kumkom)”

สถานที่ : ห้องพักครู (๑๓๘)

๒. ผู้รับผิดชอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

๓. วิทยากรแกนนำ

๑. นายวีรวัฒน์ ยกดี ๒. นางสาวอรณิชา กระจายแก้ว

๔. วัตถุประสงค์ของแหล่ง / ฐานเรียนรู้

๔.๑  เพื่อฝึกปฏิภาณไหวพริบในการต่ออักษรไทยให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย 

๔.๒  เพื่อให้เกิดความสนุกเพลิดเพลิน และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน 

๔.๓  เพื่อปลูกฝัง สร้างเสริม พัฒนาทักษะกระบวนการการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ กระบวนการแก้ปัญหา และตัดสินใจได้อย่างมีวิจารณญาณ

๔.๔  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ที่หลากหลาย เปิดโลกทัศน์ทางการศึกษา สามารถใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง

๔.๕  สามารถเรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้และสื่อสารได้เข้าใจตรงกัน

๕. กิจกรรม

. ประชุมคณะครู  เกี่ยวกับการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

๒. วางแผน สำรวจหลักสูตรมาตรฐานตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

๓. กำหนดมาตรฐานตัวชี้วัดของแต่ละชั้นเรียนที่เกี่ยวกับ การต่อคำศัพท์ เพื่อพัฒนางานเขียน เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่จะสอนในแต่ละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖  เรียน ชื่อฐานว่า “ต่อคำเขียนเรื่องประเทืองปัญญา พัฒนางานเขียน”

๔. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ กำหนดระเบียบกติกาการแข่งขัน

๕. จัดการแข่งขัน 

๖. ประเมินผล

๖. สื่อ อุปกรณ์การเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

  1. กระดานต่อคำศัพท์ เบี้ยตัวอักษร ถุงใส่เบี้ย แท่นวางเบี้ย 
  2. กระดาษบันทึกคะแนน
  3. นาฬิกาจับเวลา/แอปพลิเคชันจับเวลา
  4. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
  5. แอปพลิเคชัน Thai Dictionary ของ Royal Society
  6. กติกาการเล่น https://www.youtube.com/watch?v=2rTsy-kFduQ
  7. หนังสือคู่มือกติกาการเล่นคำคม
  8. หนังสือรวมคำศัพท์ที่ใช้ในการแข่งขันต่อคำศัพท์ภาษาไทย

๗. วิธีการใช้ฐาน

ขั้นตอนวิธีการเล่นเกมต่อศัพท์ภาษาไทย (คำคม)

ผู้เล่นจะต้องเตรียมเบี้ย ๒ ประเภทคือ เบี้ยพลาสติกที่เป็นตัวอักษรและสระ รวมถึงเบี้ยว่างซึ่งเป็นเบี้ยพิเศษที่ใช้แทนตัวอักษรใดก็ได้จำนวน ๑๐๔ แบบ และเบี้ยวรรณยุกต์และสระบางตัวที่เป็นเบี้ยกระดาษ โดยมีตัวอักษรต่าง ๆ จำนวนดังต่อไปนี้

ตัวอักษร จำนวน ตัวอักษร จำนวน ตัวอักษร จำนวน
๔ ตัว ๒ ตัว ศ/ฤ ๑ ตัว
๒ ตัว ๑ ตัว ๓ ตัว
๒ ตัว ๓ ตัว ๒ ตัว
ฆ/ซ ๑ ตัว ๓ ตัว ฬ/ญ ๑ ตัว
๓ ตัว ๒ ตัว ๓ ตัว
๒ ตัว ๑ ตัว ฮ/ฦ ๑ ตัว
๑ ตัว ๑ ตัว ๕ ตัว
๒ ตัว ๒ ตัว ๒ ตัว
ณ/ษ ๑ ตัว ๒ ตัว ๕ ตัว
ฎ/ฏ ๑ ตัว ๑ ตัว ๔ ตัว
ฐ/ฑ ๑ ตัว ๓ ตัว ๒ ตัว
ฒ/ณ ๑ ตัว ๓ ตัว ๒ ตัว 
ด  ๓ ตัว ๓ ตัว ๓ ตัว
๒ ตัว ๓ ตัว ๖ ตัว
๑ ตัว ๓ ตัว ตัวว่าง ๔ ตัว

 

* สามารถเลือกใช้เบี้ยที่ตัวอักษรคู่ได้เพียงตัวเดียว และเลือกได้ครั้งเดียวตลอดเกมการเล่น
* สามารถต่อเป็นตัวอักษรลากข้าง (ๅ) เช่น ฤๅ หรือ ฦๅ โดยใช้ตัวว่างได้เท่านั้น

เบี้ยแต่ละตัวจะมีคะแนนระบุเป็นตัวเลขไทยที่มุมล่างด้านขวา ซึ่งเมื่อประกอบเป็นคำและวางลงบนกระดานในตำแหน่งพิเศษที่มีสีปรากฏอยู่ จะได้คะแนนดังต่อไปนี้

  • สีฟ้า – ตัวอักษรที่ลงในช่องนี้ จะได้คะแนนคูณ ๒ จากตัวอักษรนั้น ๆ
  • สีเขียว – ตัวอักษรที่ลงในช่องนี้ จะได้คะแนนคูณ ๓ จากตัวอักษรนั้น ๆ
  • สีส้ม – ตัวอักษรที่ลงในช่องนี้ จะได้คะแนนคูณ ๔ จากตัวอักษรนั้น ๆ
  • สีม่วง – ตัวอักษรที่ลงในช่องนี้ จะได้คะแนนคูณ ๕ จากตัวอักษรนั้น ๆ
  • สีชมพู – ศัพท์คำใดที่พาดผ่านช่องนี้ จะได้คะแนนคูณ ๒ จากคะแนนรวมของทั้งคำ
  • สีแดง – ศัพท์คำใดที่พาดผ่านช่องนี้ จะได้คะแนนคูณ ๓ จากคะแนนรวมของทั้งคำ

สำหรับเบี้ยกระดาษที่เป็นวรรณยุกต์และสระบางตัวจะไม่มีคะแนนในตัวเอง แต่สามารถใช้ในการเล่นตลอดเวลาที่ต้องการ ได้แก่ สระอิ สระอี สระอึ สระอือ สระอุ สระอู ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา ไม้ทัณฑฆาต และไม้หันอากาศ

๑. ผู้เล่นจะต้องจับเบี้ยเพื่อสุ่มหาว่าใครจะได้เป็นผู้เริ่มเล่นก่อน โดยตัวว่างจะมีค่ามากที่สุด ตามด้วยตัวอักษรตั้งแต่ ก – ฮ แต่สระจะไม่มีค่าใด ๆ ผู้ใดได้เบี้ยที่สูงกว่าจะเป็นผู้เริ่มเล่นก่อน หรือใช้วิธีอื่นตามแต่จะตกลงกัน

๒. ผู้เล่นหยิบเบี้ยขึ้นมา ๙ ตัวจากถุงเข้าสู่ที่วางบนแป้น และผู้เล่นจะต้องประกอบตัวอักษรเพื่อสร้างคำศัพท์ที่มีความหมายในพจนานุกรม โดยใช้ตัวเบี้ยอักษรตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไปในแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้ ซึ่งผู้เล่นคนแรกจะต้องเริ่มวางจากกลางกระดานเสมอ และผู้เล่นสามารถนำเบี้ยกระดาษมาใช้สร้างคำได้ตลอดเวลา

๓. เมื่อผู้เล่นคนแรกวางศัพท์และคำนวณคะแนนตามเงื่อนไขทั้งคำที่วางลงไปได้ เรียบร้อยแล้ว ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือผู้เล่นคนถัดไปจะต้องต่อคำศัพท์โดยเชื่อมกับคำที่ ปรากฏบนกระดานก่อนหน้านี้ เมื่อผู้เล่นสามารถต่อศัพท์ได้เรียบร้อยแล้ว ให้นำคำศัพท์ตัวเดิมของผู้เล่นคนก่อนหน้าหรือคู่ต่อสู้ออกจากกระดาน จากนั้นจึงผลัดกันเล่นและคำนวณคะแนนต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเข้าเงื่อนไขในการสิ้นสุดเกม

ผู้เล่นสามารถใช้สิทธิผ่าน ไม่เลือกเล่นในตานั้น ๆ โดยที่คะแนนในตาที่ผ่านนั้นจะเป็น ๐ และผู้เล่นอีกฝ่ายจะได้เล่นต่อ

๔. ผู้เล่นสามารถต่อศัพท์ให้คำที่มีความหมายปรากฏมากกว่า ๑ คำในตาเดียวกันได้ แต่ศัพท์ที่ลงจะต้องมีความหมายทั้งหมด ไม่ว่าจะคิดจากแนวใด ๆ และผู้เล่นที่สามารถทำได้จะได้คะแนนจากคำศัพท์ทุกคำที่มีความหมายตาม เงื่อนไขและตำแหน่งเบี้ยที่วางบนสีที่ปรากฏบนกระดาน

เงื่อนไขพิเศษในการเล่น

๑) ผู้เล่นจะได้คะแนนพิเศษในการเล่นเมื่อสามารถนำเบี้ยตัวอักษรมาสร้างคำใหม่ ตั้งแต่ ๖ – ๙ เบี้ยในคราวเดียวกัน โดยจะบวกเพิ่มให้นอกเหนือจากคะแนนที่ได้จากคำศัพท์อยู่แล้วดังต่อไปนี้

๖ ตัวอักษร +๔๐ คะแนน ๗ ตัวอักษร +๕๐ คะแนน ๘ ตัวอักษร +๗๐ คะแนน ๙ ตัวอักษร +๙๐ คะแนน

๒) ผู้เล่นสามารถขอเปลี่ยนเบี้ยตัวอักษรที่อยู่ในแป้นตัวเองได้ตั้งแต่ ๑ – ๙ ตัวเมื่ออยู่ในตาของตนเอง โดยจะต้องผ่านในตานั้นทันทีหลังจากการจับสุ่มเปลี่ยนเบี้ยใหม่เรียบร้อยแล้ว แต่จะเปลี่ยนไม่ได้ เมื่อตัวเบี้ยที่อยู่ในถุงเหลือไม่เกิน ๙ ตัว

๓) ในกรณีที่ผู้เล่นไม่สามารถลงศัพท์ต่อไปได้ และยังมีเบี้ยเหลืออยู่ในถุง และมีการเปลี่ยนตัวศัพท์หรือขอผ่านฝ่ายละ ๓ ครั้งติดต่อกัน ให้ยกศัพท์เก่าบนกระดานออก และเริ่มต้นเล่นใหม่กลางกระดานโดยคิดคะแนนต่อไปได้เลย

๔) ผู้เล่นสามารถเรียกขอตรวจศัพท์ของอีกฝ่ายหนึ่งว่ามีคำนั้น ๆ ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมคำศัพท์หรือไม่ โดยหากเปิดเจอศัพท์จริง ผู้เล่นที่ร้องขอการตรวจศัพท์จะเสียการเล่นไป ๑ ตาทันที แต่หากตรวจแล้วไม่พบศัพท์ ให้ยกตัวเบี้ยออก และผู้ที่ลงศัพท์ที่ไม่มีอยู่จริงจะได้คะแนน ๐ คะแนนในตานั้นทันที และเปลี่ยนตาเล่นให้เป็นของผู้เล่นคนถัดไปหรือผู้ที่ร้องขอทันทีเช่นกัน

๕) ผู้เล่นสามารถตั้งเวลาในการเล่นเกมต่ออักษรภาษาไทย คำคม ได้ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องใช้เวลาไม่เกิน ๒๕ นาทีต่อเกมในการเล่น

เงื่อนไขในการสิ้นสุดเกม

เกมจะสิ้นสุดเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้เบี้ยหมด หลังจากที่เบี้ยในถุงหมดเรียบร้อยแล้ว โดยผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องนำคะแนนของเบี้ยตัวอักษรที่ตนเองมีอยู่มารวม กันแล้วคูณ ๒ เพื่อเป็นคะแนนพิเศษสำหรับผู้เล่นฝ่ายที่ตัวเบี้ยหมดก่อน ในกรณีที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่สามารถลงเบี้ยได้ครบ แม้ว่าจะขอเปลี่ยนตัวศัพท์หรือขอผ่านฝ่ายละสามครั้งในกรณีที่เบี้ยตัวอักษร ถูกหยิบออกจากถุงทั้งหมดแล้ว รวม ๖ ครั้งติดต่อกันแล้วก็ตาม ให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายนับเบี้ยที่ตนเองมีอยู่รวมกัน แล้วหักคะแนนออกจากคะแนนที่ตนเองทำได้ในเกมนั้น ๆ  ผู้ใดที่มีคะแนนสะสมทั้งหมดมากกว่า ผู้นั้นเป็นฝ่ายชนะ

           กิจกรรมฐานการเรียนรู้การต่อคำศัพท์ภาษาไทย คำคม (Kumkom) ผู้จัดกิจกรรมได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการกับการจัดกิจกรรม ซึ่งสามารถวิเคราะห์การจัดกิจกรรม กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข นำไปสู่ความสมดุลยั่งยืนใน ๔ มิติ

๘. ตารางการปฏิบัติและเวลาที่ใช้

ลำดับที่ การปฏิบัติ เวลาที่ใช้
นักเรียนรับฟังคำชี้แจงกติกาการทำกิจกรรมเกมคำคม (เกมต่ออักษรภาษาไทย) แบ่งกลุ่มนักเรียน/ตั้งชื่อกลุ่ม/สโลแกนกลุ่ม (มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม/พอเพียง) ๕ นาที
เรียนรู้ขั้นตอนวิธีการทำกิจกรรมเกมคำคม (เกมต่อศัพท์ภาษาไทย) ๑๐ นาที
เริ่มต้นทำกิจกรรมเกมคำคม เงื่อนไขพิเศษการเล่น ๒๕ นาที
การสิ้นสุดกิจกรรมเกมคำคม ๑๐ นาที

๙. ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้ 

ศาสตร์พระราชา

– ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ

– แก้ปัญหาจากจุดเล็ก

– ทำตามลำดับขั้นตอน

– การส่วนร่วม

– ความเพียร

– ทำงานอย่างมีความสุข

– ประโยชน์ส่วนรวม

ศาสตร์ท้องถิ่น

– การนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่น  เรื่องราว ศิลปะวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ที่มีในท้องถิ่น นำมาผูกเรื่อง หรือสร้างสรรค์ผลงาน

ศาสตร์สากล

– การิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น

– การผลิตหนังสือเล่มเล็ก

– การเขียนในรูปแบบความเรียง (Essay)

 

๑๐. ความสอดคล้องกับหลักการทรงงาน

– ซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน

คนที่มีความรู้มาก แต่โกง สู้คนที่ไม่เก่ง แต่ดีไม่ได้ วีรบุรุษ วีรสตรีคือคุณธรรม ที่ทำประโยชน์เพื่อ ผู้อื่น พวกเราที่ทำงานยาเสพติด คือ วีรบุรุษ วีรสตรีผู้หนึ่ง

– ความเพียร

กว่า ๖๐ ปีที่ทรงงาน ในหลวงไม่เคยทรงท้อถอย ไม่มีการลาพักร้อน หยุดงานสักเวลาเดียว

– ทำงานอย่างมีความสุข

“ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ ฉันมีแต่ความสุข ที่ร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นเท่านั้น” ทำอะไรต้องมีความสุขด้วย
– รู้รักสามัคคี

รู้ = ต้องรู้ปัจจัย รู้ปัญหา รู้ทางออก ของปัญหา

รัก = เมื่อรู้แล้ว ต้องเกิดความอยาก

สามัคคี = ร่วมมือ ลงมือปฏิบัติเพื่อเกิดพลัง

คู่มือกิจกรรมต่อคำศัพท์ภาษาไทย ฉบับเต็ม

You may also like...

Your email will not be published. Name and Email fields are required