กิจกรรมศาสตร์พระราชาสู่สารานุกรม (ห้องสมุด)

คู่มือการศึกษากิจกรรม ศาสตร์พระราชาสู่สารานุกรม
๑. ฐาน ศาสตร์พระราชาสู่สารานุกรม
สถานที่ : อาคารพรายนภา ชั้น ๑ ห้องสมุด
๒. วิทยากรแกนนำ
๑. นางสาวสุพารัตน์   บุญพูนเลิศ
๓. วัตถุประสงค์ของแหล่ง / ฐานเรียนรู้
๑. มีความรู้เรื่องในเรื่องสารานุกรมที่บูรณาการการเรียนรู้ภาษาไทย  และห้องสมุด
๒. อธิบายหลักการและขั้นตอนในการถอดบทเรียนรู้เรื่องสารานุกรม
๓. สามารถเลือกหัวข้อในการถอดบทเรียนสารานุกรมได้
๔. กิจกรรม
๑. ศึกษาหลักการของแหล่งเรียนรู้ในห้องสมุด
๒. เลือกหัวข้อในการถอดบทเรียนเรื่องสารานุกรม
๕. สื่อ อุปกรณ์การเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
– ใบความรู้ เรื่องสารานุกรม
– ใบงานที่ ๑  แบบฟอร์มการถอดบทเรียนเรื่องสารานุกรม

๖. ความรู้ที่ได้รับจากฐานการเรียนรู้
ศาสตร์พระราชา
– ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ
– แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
– ภูมิสังคม
– การส่วนร่วม
– ความเพียร
– รู้-รัก-สามัคคี

ศาสตร์ท้องถิ่น
– เครื่องมือทางการเกษตรในท้องถิ่น
ศาสตร์สากล
ความหมายของสารานุกรม
สารานุกรม  (Encyclopedias)  เป็นหนังสืออ้างอิงที่มีความสำคัญและใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นแหล่งสรรพวิทยาความรู้อันเป็นพื้นฐานโดยทั่ว ๆ ไป  โดยรวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะเขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชา  แล้วนำมาเรียบเรียงไว้ตามลำดับตัวอักษร  หรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา  สารานุกรมมีทั้งเล่มเดียวจบและเป็นชุดหลายเล่มจบ
ประโยชน์ของสารานุกรม
สารานุกรมจะให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ในทุกแขนงวิชา  ให้คำอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียดทั้งในเชิงประวัติความเป็นมา  วิวัฒนาการตลอดจนความรู้ทั่วไป  เหมาะที่จะทำหารศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและเป็นคู่มือบรรณารักษ์ในการบริการตอบคำถามเป็นอย่างดี   ประโยชน์ของสารานุกรมกล่าวสรุปได้ดังนี้
ใช้เป็นแหล่งข้อมูลค้นหาคำตอบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงได้ทุกแขนงวิชา ข้อเท็จจริงในหนังสือสารานุกรมเชื่อถือได้ เพราะเป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ  ใช้เป็นแหล่งศึกษาพื้นฐานความรู้ในเชิงประวัติความเป็นมา  และวิวัฒนาการของศาสตร์ในสาขา
ต่าง ๆ อย่างทั่วถึงได้ความรู้ที่ทันสมัยเพราะมีการปรับปรุงเนื้อหาทุกๆปี ผู้ใช้สามารถค้นหาคำตอบได้สะดวกและรวดเร็ว  เพราะมีเครื่องมือช่วยค้น  คือดรรชนี (Index) ผู้ใช้สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  เพราะมีการจัดเรียงลำดับเนื้อเรื่องอย่างมีระเบียบ ใช้เป็นคู่มือของบรรณารักษ์ในการบริการตอบคำถามได้เป็นอย่างดี
วิธีใช้สารานุกรม
๑.พิจารณาดูว่าเรื่องที่ต้องการเป็นความรู้พื้นฐาน  หรือความรู้เป็นเรื่องเฉพาะวิชา
๒.เลือกใช้สารานุกรมให้ถูกกับเรื่องที่ต้องการ  เช่น
๒.๑ ความรู้พื้นฐานง่าย ๆ สั้น ๆ
๒.๒ ความรู้พื้นฐานอย่างละเอียดใช้สารานุกรมทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่
๒.๓ ความรู้เฉพาะวิชา  ให้เลือกใช้สารานุกรมเฉพาะวิชา  ซึ่งแบ่งออกเป็นสาขาวิชาต่าง ๆ
๓.เปิดดูดรรชนีเพื่อดูเรื่องที่ต้องค้นหาว่าอยู่ในเล่มใด  หน้าเท่าไร  โดยพิจารณาให้ถูกกับลักษณะของสารานุกรม  เช่น
๓.๑ เปิดดูดรรชนีท้ายเล่ม (สารานุกรมสำหรับเยาวชนและสารานุกรมบางชุดดรรชนีอยู่ด้านหน้า)
๓.๒ เปิดดูดรรชนีที่เล่มสุดท้ายของชุด (สารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่และสารานุกรมบางชุดอยู่ท้ายเล่ม)
๔. ดูอักษรนำเล่ม  หรือคำแนะนำที่สันหนังสือ  เพื่อดูว่าเรื่องที่ต้องการอยู่เล่มใด
๕.ก่อนใช้สารานุกรมแต่ละชุดควรอ่านวิธีใช้เป็นลำดับแรก  แล้วจึงค้นหาเรื่องที่ต้องการ
สารานุกรมจำแนกได้  ๒  ประเภท  คือ
1. สารานุกรมทั่วไป  (General  Encyclopedias)  เป็นหนังสือสารานุกรมที่รวบรวมความรู้ทุกแขนง  มีทั้งให้ข้อมูลอย่างละเอียดและอย่างสังเขปอธิบายเรื่องราวเพื่อเป็นพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ทุกแขนง  เช่น  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ  World  Book  Encyclopedia  ฯลฯ
๒. สารานุกรมเฉพาะวิชา  (Subject Encyclopedias )  เป็นสารานุกรมที่รวบรวมความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือรวบรวมเรื่องราวแขนงวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ  จะอธิบายเรื่องราวรายละเอียดลึกซึ้งกว่าสารานุกรมทั่วไป  เช่น  สารานุกรมวิทยาศาสตร์  สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้  ฯลฯ
สารานุกรมที่ควรรู้จัก
๑. สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน  โดยราชบัณฑิตยสถาน
๒. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๓. The  New  Encyclopedia  Britannica
๔. World  Book  Encyclopedia
๗. ความสอดคล้องกับหลักการทรงงาน
รู้-รัก-สามัคคี
รู้  – การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา
รัก – เมื่อเรารู้ครบด้วยประบวนการแล้ว จะต้องเห็นคุณค่า เกิดศรัทธา เกิดความรักที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ปัญหานั้น
สามัคคี – เมื่อถึงขั้นลงมือปฏิบัติต้องคำนึงเสมอว่าเราทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจ สามัคคีกันเป็นหมู่คณะ จึงจะเกิดพลังในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงด้วย
คู่มือศาสตร์พระราชาสู่สารานุกรม 22 พย 64

You may also like...

Your email will not be published. Name and Email fields are required